วัดพระแก้วพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ตั้งอยู่ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหา-ราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากร และใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2327 วัดนี้เป็นวัดพุทธาวาส ภายในพระอุโบสถและระเบียงรอบวัดมีภาพเขียนฝาผนังสวยงามมากวัดพระ ศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 - 9 ตลอดทุกรัชกาลสิ่งที่ น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ หอพระเทพบิดร(เปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระเทพบิดร ในสมัยรัชกาลที่ 6 ) พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาท-นครวัดจำลอง ฯลฯ พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชม ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-11.30 น. และเวลา 13.00-15.30 น.
เสาชิงช้าสถานที่ตั้ง
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ หรือหน้าวัดสุทัศน์เทพวนาราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร
ประวัติความเป็นมา
มีพราหมณ์ นาฬิวัน ชาวเมืองสุโขทัย มีนามว่า พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณจำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๒๗ ต่อมาได้สร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ เทวสถาน จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดยถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ หน้า ๕๒๘๑ เป็น "โบราณวัตถุสถาน" สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ การปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓ มีคำจารึกติดไว้ที่เสาชิงช้า ดังนี้
"ไม้เสาชิงช้าคู่นี้ กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลัง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยตีลี โอโนเวนส์ จำกัด ซึ่งทำการค้าไม้ได้ให้ไม้สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่นายหลุยส์โทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นผู้ที่เคยเข้ามาตั้งเคหะสถาน อยู่ในประเทศสยามกว่า ๕๐ ปี สาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๓"
.................พุทธศักราช ๒๔๙๐ เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากธูปกราบไหว้ไฟจากธูปตกลงไปในรอยแตก ทำให้คุไหม้เสาขึ้น รัฐบาลครั้งนั้นมีดำริจะรื้อ แต่เมื่อมีเสียงวิพากวิจารณ์มากขึ้นจึงระงับไว้มีคำสั่งให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ซ่อมกระจังไว้ชั่วคราว
.................พุทธศักราช ๒๕๐๒ กระจังที่เป็นลวดลายผุลง ได้เปลี่ยนใหม่และทาสี
.................พุทธศักราช ๒๕๑๓ สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่ เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงการ ปรับปรุงบูรณะ ได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ งานแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๕
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
..................เสาชิงช้ามีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังไม้ประมาณ ๒๑.๑๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ ๑๐.๕๐ เมตร ฐานกลมก่อด้วยหินสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได ๒ ชั้น ทั้ง ๒ ด้าน ที่ถนนบำรุงเมืองตัดผ่านตามแนวโค้งของฐาน ติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า เสาชิงช้าแกนกลางคู่และเสา
ตะเกียบ ๒ คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลมติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
ความสำคัญต่อชุมชน
..................เป็นโบราณวัตถุสถานที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ซึ่งตามประวัติได้ใช้โล้ชิงช้า ในพิธีกรรมตรียัมปวาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และเลิกโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ ๕
เส้นทางเข้าสู่เสาชิงช้า
.....................เสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหมณ์ และวัดสุทัศน์เทพวราราม จึงสามารถเข้าได้โดยผ่านถนนดินสอเข้ามาตัดกับถนนบำรุงเมือง
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียน อยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่ กิโลเมตรที่ 0.0 ถนนพหลโยธิน
ความสำคัญของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญและเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิตใน กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีแล้ว ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน รวมไปถึงศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง เป็นจำนวนมาก ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
สิ่งก่อสร้างบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ทางด่วนขั้นที่ 2 สถานีรถไฟฟ้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรบินสัน
ประวัติ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่ ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และ[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน นี้มีชื่อเรียกว่า "สี่แยกสนามเป้า"
ความหมาย
การออกแบบอนุสาวรีย์ของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจห้าประการ คือ • ปฏิบัติการของกองทัพทั้ง 3
• ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
• อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ
• เหตุการณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
• ความสนใจของประชาชน
หม่อมหลวงปุ่มใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส
ด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศ.ศิลป พีระศรี
ด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้ มีทั้งสิ้น 160 คน เป็นทหารบก 94 คน ทหารเรือ 41 คน ทหารอากาศ 13 คน และตำรวจสนาม 12 คน จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 คน
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกสร้างขึ้นเพื่อจารึกรายนามของทหารหาญและวีรชนที่เสียชีวิตในสงครามข้อพิพาทแย่งดินแดนระหว่างไทยและฝรั่งเศส รวมทั้งทหารที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี ที่ได้สละเลือดเนื้อและชีวิตในการปกป้องเอกราชอธิปไตยไว้ให้ลูกหลานไทย
เหตุการณ์ดังกล่าวย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ.2483 สมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประเทศไทยได้เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสก็ได้เร่งรัดให้ทำสัตยาบันไม่รุกรานฝรั่งเศสเป็นการตอบแทนตามที่ได้เคยทำสัญญาไว้ โดยสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อแลกสัตยาบันกันเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลไทยให้คำตอบว่ายินดีจะทำตามหากฝรั่งเศสยกดินแดนหลวงพระบาง ปากเซ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่ยึดไปเมื่อปีพุทธศักราช 2447 คืนให้กับไทย และทำการปักปันเส้นเขตแดนในลำน้ำโขงให้เรียบร้อย
นอกจากนี้ต้องรับประกันว่าจะยกประเทศลาวซึ่งเดิมเป็นอาณาจักรของไทยคืนให้ไทยด้วย หลังจากที่พ้นจากการปกครองของฝรั่งเศสแล้ว แต่ฝรั่งเศสตอบปฏิเสธข้อเสนอนี้
ดังนั้น จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทกันขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อฝรั่งเศสทำการทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2483 โดยทางรัฐบาลไทยได้โต้ตอบโดยการทิ้งระเบิดเช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารและอาวุธ จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทให้ยุติลง โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อประชุมทำสัตยาบันสันติภาพที่กรุงโตเกียว
ฝรั่งเศสตกลงยอมยกดินแดนหลวงพระบาง ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง นครจำปาศักดิ์กับที่ท่าสามเหลี่ยมฝั่งขวา และอาณาเขตมณฑลบูรพาเดิมให้กับไทย
ผลจากกรณีพิพาทครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียทหารหาญจำนวน 59 นาย ซึ่งมีชื่อจารึกอยู่บนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
อนุสาวรีย์แห่งนี้ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับศิลาอ่อน มีรูปทรงเป็นดาบปลายปืน 5 เล่ม มีความสูงประมาณ 50 เมตร รอบดาบปลายปืนมีรูปปั้นนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ยืนล้อมรอบอยู่ บริเวณใต้รูปปั้นมีแผ่นทองแดงซึ่งเป็นที่จารึกรายชื่อของผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย
ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และครอบครัวทหารผ่านศึก ทหารนอกประจำการ และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของชาติ จะร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า และยังมีพิธีสวนสนามที่ลานอเนกประสงค์ กองพันทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ด้วย
สามารถคลิกดาวโหลดได้ที่นี้